| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 95 ท่าน 
FreeSplanS MENU
C a l c u l a t o r . . .

Link to us!!!
Link to US!!!


Construction Materials...
  
 | Comment |




บ้านเดี่ยว : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แบบบ้านไม้ใต้ร่ม
ดู 265









แนวความคิดการออกแบบ
การสังเกตพฤติกรรมและวิถีชีวิต กับประโยชน์ใช้สอยของบ้านเรือนพื้นถิ่น เป็นแรงบันดาลใจแรกในการคิดงานสถาปัตยกรรม “บ้านไม้ใต้ร่ม” นี้ ถึงแม้ว่า ความเป็นอยู่ของชีวิตแบบร่วมสมัยในเมืองจะแตกต่างจากชีวิตพื้นถิ่น แต่การผสมผสานคุณประโยชน์ของทั้งสองแบบ ก็ยังสามารถเป็นไปได้ ฉะนั้น การออกแบบวางผังบ้านหลังนี้จึงได้ใช้ทั้งระบบเปิด (ชีวิตแบบเมือง) ในชั้นล่าง และระบบเปิด(ชีวิตแบบพื้นถิ่น) ในชั้นบน นั่นหมายถึงการใช้ชีวิตในช่วงกลางวันทั้งรับแขก ทำครัว รับประทานอาหาร จะอยู่ภายในตัวเรือน ที่สามารถเปิดประตู ลงกลอนประตูหน้าต่างได้ทั้งหมด

สำหรับการใช้ชีวิต ในช่วงเย็นค่ำหรือช่วงเวลาส่วนตัว ทั้งพื้นที่ส่วนนั่งเล่นของครอบครัวและห้องนอนจะอยู่ชั้นบนที่เปิดโล่งโปร่ง ลม โดยผ่านทางบันไดที่มีลักษณะกึ่งเปิดลอยเหนือน้ำ ตั้งในพื้นที่เชื่อมต่อของเรือนห้องทุกห้องในบ้านหลังนี้จะมีพื้นที่เชื่อม ต่อกับระเบียงได้ทั้งหมด และยังเป็นระเบียงที่ได้ร่มเงาตลอดเวลาด้วย ในชั้นล่างระเบียงจะต่อกับลานดินที่อยู่ในร่ม เป็นพื้นที่สันทนาการของครอบครัวและเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดี และสามารถปลูกต้นไม้ในร่มให้อากาศบริสุทธิ์

Ground Surface
ที่ดินแปลงนี้ได้แบ่งพื้นที่สำหรับปลูกพืชคลุมดิน สระน้ำ และที่โล่ง สำหรับการต่อเติมถึง 70% โดยมีสิ่งปลูกสร้างปกคลุมหน้าดินประมาณ 30% สำหรับตัวพื้นเรือนมีลักษณะยกพื้นเตี้ย สูงพ้นจากดินประมาณ 60 เซนติเมตร ทำให้บ้านมีพื้นที่หายใจถึง 70%

Orientation: Landscape
การจัดวางทิศทางขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย โดยมีบ่อน้ำที่มีร่มเงาเกือบตลอดเวลาจากระแนงไม้และบันได ต้นไม้สูงปลูกทางด้านตะวันตก เพื่อป้องกันแดดยามบ่าย โดยมีลมลอดผ่านมาได้ ส่วนต้นไม้ด้านทิศใต้เพื่อสร้างพื้นที่ปิดล้อม ทำให้เกิดความเป็นส่วนตัวภายในสวนหลังบ้าน

Orientation: Architecture
การจัดวางทิศทางตัวเรือนเป็นรูปตัวแอล (L) มีช่องทางเดินเป็นช่องลมด้านเหนือ-ใต้ ห้องภายในบ้านสามารถรับลมได้ในระหว่างวันทุกห้อง อยู่ใต้ร่มเงาและล้อมที่ว่างสวนใต้ร่ม ส่วนบริการเป็นที่จอดรถ ลานซักล้าง ครัว ทางเดินเชื่อมและบันไดวางไว้กันแสงแดดแนวตะวันออก-ตก ชั้นบนเป็นห้องนอน ทุกห้องมีหน้าต่าง 2 ด้าน และมีช่องฝ้าระบายอากาศ

Natural Ventilation
ระบบวิธีของการระบายอากาศตามธรรมชาติที่มีใช้ 2 ระบบ คือ การให้ลมพัดผ่านช่องเปิดประตู – หน้าต่าง ในระดับที่ผู้คนทำกิจกรรมต่างๆ (Cross Ventilation) และเมื่อเปิดประตู – หน้าต่าง การระบายอากาศจะเป็นแบบลมเข้าทางช่องเปิดเกล็ดไม้ด้านล่างของผนัง และไอความร้อนระบายออกทางช่องเปิดใต้หลังคา (Induced – ventilation หรือ stack effect) และช่องลมเหนือประตูหน้าต่าง ซึ่งจะทำให้ภายในตัวเรือนไม่เกิดความร้อนสะสมเมื่อผู้อาศัยออกไปทำงานนอก บ้าน

Evaporative Cooling
ลักษณะตัวเรือนเป็นแบบยกพื้นขึ้นจากดิน ทำให้หน้าดินสามารถหายใจได้ ลมพัดผ่านได้ ซึ่งเป็นการกระจายความเย็นจากผิวดินไปสู่ส่วนต่างๆ ของบ้าน อีกทั้งสนามที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือก็ยังได้รับร่มเงาที่ทอดมาจากตัว เรือน หลังคาและต้นไม้ใต้ชายคา นอกจากนี้ยังได้ไอเย็นจากบ่อน้ำหน้าบ้านสร้างความชุ่มชื้นแก่เรือนเป็นอย่างดี

Solar Control
การวางทิศทางของตัวเรือนและองค์ประกอบต่างๆ เป็นปัจจัยแรกในการควบคุมแสงแดด รวมทั้งการยื่นชายคายาวออกจากตัวเรือนถึงสองเมตร ทำให้เกิดร่มเงาแก่ผนังทุกด้าน และช่องเปิดของห้องนอนทุกห้อง นอกจากนี้การที่มีระเบียงกลางบ้านที่ชั้นบน การใช้ระแนงไม้และการนำบันไดออกนอกตัวบ้านยังทำให้เกิดพื้นที่ร่มเงากับส่วน ที่อยู่อาศัยชั้นล่างระหว่างวันได้อีก ส่วนการควบคุมแสงแดดโดยตรงทางทิศตะวันออก – ตกได้ออกแบบให้เป็นผนังทึบและส่วนบริการอยู่แล้ว

Materials
วัสดุที่ใช้เป็นโครงสร้างหลักคือ คอนกรีตเสริมเหล็กใช้โครงหลังคาเหล็กและกระเบื้องลูกฟูกลอนคู่มีความลาดชัน ประมาณ 30 องศา ผนังที่มิได้ถูกแสงแดดและเป็นผนังภายในเป็นผนังก่ออิฐบล็อกและปูนพลาสเตอร์ บอร์ด สำหรับพนังที่ถูกแสงแดดจะใช้เป็นพนังก่ออิฐมวลเบาและโครงคร่าวไม้พร้อมตีไม้ ตามตั้ง ซึ่งเป็นวัสดุที่มีมวลความร้อนต่ำ (Light material) ประตู – หน้าต่างใช้เป็นบานอลูมิเนียมหรือบานไม้ตามแบบมาตรฐาน เพื่อการประหยัดราคาก่อสร้าง ส่วนช่องเปิดเกล็ดไม้และไม้ระแนง จะทำให้บ้านมีความรู้สึกอบอุ่นขึ้น

Transitional Space
ห้องนั่งเล่นเป็นทั้งโถงทางเข้า ระเบียงเชื่อมต่อกิจกรรมต่างๆ และพื้นที่ต่อเนื่องจากภายในมาสู่สนามใต้ร่มไม้ชายคา ออกแบบโดยเปิดโอกาสให้คนในบ้านได้สัมผัสอากาศธรรมชาติระหว่างวัน บันไดนอกจากใช้เชื่อมระหว่างขั้น ยังทำหน้าที่เปลี่ยนที่ว่างจากภายในสู่ภายนอกผ่านสระน้ำ โดยมีระแนงไม้ช่วยกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวกลายเป็นพื้นที่กึ่งภายนอก และต่อเนื่องสร้างพื้นที่โอบล้อมให้เกิดสวนภายในด้านทิศตะวันตก สำหรับพื้นที่เชื่อมต่อภายใน (ชานชั้นบน) จะมีขนาดกว้างพอที่จะเป็นได้ทั้งโถง ทางเดิน ที่นั่งเล่นต่อกับที่เปิดโล่งไปในขณะเดียวกัน

Living Space
ส่วนรับแขก นั่งเล่นพักผ่อน พื้นที่ส่วนนี้สามารถรับลมเย็นได้จากบ่อน้ำด้านหน้าผ่านช่องเกล็ดไม้ที่อยู่ บนหน้าต่างบานกระทุ้ง (ซึ่งทำให้เกิดมุมมองลงไปยังสระน้ำด้วย) และเชื่อมต่อกับสนามหลังบ้าน และเป็นช่องเปิดที่เปิดได้กว้างทางทิศเหนือ ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในยังสามารถระบายออกได้ทางช่องลมเหนือประตูหน้าต่าง อีกด้วย

Dinning Space
ส่วนรับประทานอาหาร เป็นพื้นที่รับสวนใต้ร่มโดยตรง ฉะนั้น คนในบ้านจะสัมผัสกับอากาศธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ ช่องเปิดเป็นบานเลื่อนอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกจะช่วยระบายอากาศและได้ ร่มเงา และช่องเปิดบานเกล็ดไม้ด้านบนของผนังทุกด้านของห้องนอนอยู่ใต้ร่มเงาทั้งหมด และทั้ง 2 ห้องยังมีมุมมองที่ดีออกสู่สวนใต้ร่ม

Sleeping Space
ส่วนนอนมีทั้งหมด 2 ห้อง แต่ละห้องจะมีทั้งทางลมเข้าและทางลมออก เพื่อการระบายอากาศที่ดี นอกจากนี้ ความร้อนยังสามารถระบายออกได้ทางช่องเปิดที่ฝ้าใต้หลังคา หรือช่องเปิดเกล็ดไม้ด้านล่างของผนังได้อีกด้วย ทำให้ผนังทุกด้านของห้องนอนอยู่ใต้ร่มเงาทั้งหมด และทั้ง 2 ห้องยังมีมุมมองที่ดีออกสู่ส่วนใต้ร่ม

Family Space
จะมีทั้งทางลมเข้าและทางลมออกเพื่อเป็นการระบายอากาศที่ดี นอกจากนี้ความร้อนยังสามารถระบายออกได้ทางช่องเปิดเกล็ดไม้ด้านบนและด้าน ล่างของผนังอีกด้วย การมีชายคายื่นยาวทำให้ผนังทุกด้านอยู่ใต้ร่มเงาทั้งหมด และยังมีระเบียงยื่นออกไปรับมุมมองด้านหน้าช่วยบังแดดทางทิศใต้

คำแนะนำในการนำแบบไปใช้ก่อสร้าง
  • ตำแหน่งการจัดวางผัง : เป็นบ้านที่ตั้งอยู่ทางทิศใดก็ได้ แต่ถ้าหน้าบ้านหันไปทางทิศเหนือแสงแดดก็สามารถอ้อมมาให้ต้นไม้ในร่มเงาทาง ทิศใต้สังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น
  • การปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ภายใน : ห้องนั่งเล่นสามารถปรับเป็นห้องนอนเพิ่มได้
  • การแก้ไขช่องเปิด ประตู หน้าต่าง : ควรมีช่องเปิดในทิศทางที่เห็นทัศนียภาพอันสวยงามและมีลมพัดผ่าน
  • การ ใช้วัสดุทดแทน : สามารถใช้วัสดุที่ทำหลังคาโปร่งแสงในส่วนที่ปลูกต้นไม้ได้ สำหรับผนังอาจใช้วัสดุมวลเบา เช่น ไม้ ไผ่สาน กระดาษอัด หรือวัสดุสังเคราะห์ได้ เพราะถูกแสงแดดน้อยมาก อย่างไรก็ตามควรจะกันน้ำฝนได้

    รายละเอียดบ้าน
    ขนาดพื้นที่ดินในการก่อสร้าง minimum = 56 ตารางวา
    ที่ดินกว้าง minimum = 14 เมตร
    ที่ดินยาว minimum = 16 เมตร
    ขนาดพื้นที่ใช้สอย 140 ตารางเมตร ประกอบด้วย ห้องนอน 2 ห้อง ห้องน้ำ 2 ห้อง
    ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหาร ห้องครัว ที่จอดรถ 1 คัน
    งบประมาณการก่อสร้าง 1,5000,000.00 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาท)
    ไม่รวมราคาที่ดินระยะเวลาการก่อสร้าง 3-4 เดือน

    สนใจเข้าชมบ้านตัวอย่าง
    โครงการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานประเภทบ้านเดี่ยว
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
    โทรศัพท์ 0 4535 3300 ต่อ 2608 โทรสาร 0 4535 3333

    สนใจแบบบ้านติดต่อได้ที่
    บริษัท ลานออกแบบ จำกัด
    244/37 ซอย 4/1 หมู่บ้านชวนชื่น ถ. วงแหวน
    แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10171




    (แบบบ้านเป็นไฟล์ Autocad)


    ออกแบบโดย : บริษัท ลานออกแบบ จำกัด



  •   29/1/2015




     Comment

    Name *
    Email *
    ข้อความ *

     



     
    Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.